05 มี.ค. เพราะโยคะออกแบบได้ by Pajaree Khaobor
ถ้าการออกแบบผลิตภัณฑ์คือการออกแบบเพื่อแก้ปัญหา รองรับความต้องการของผู้บริโภค คลาสโยคะหรืองานออกแบบที่ดีซักชิ้นก็คงทำให้ผู้บริโภคมีความสุขได้ไม่ต่างกัน ในฐานะที่เคยเป็นผู้เรียนออกแบบ การออกแบบนั้นจะต้องมีการวางแผนเป็นขั้นเป็นตอน เช่น การทำเก้าอี้สักตัว จะต้องวางแผนตั้งแต่การเลือกชนิดของเก้าอี้ คำนึงถึงผู้ใช้งาน การเลือกใช้วัสดุที่อะไรที่เหมาะสม วิธีการประกอบควรใช้กาว หรือข้อต่อเพื่อการยึดเกาะแบบใด สีสันควรเป็นอย่างไรเพื่อความสวยงาม และไม่ลืมการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ในทางโยคะก็เช่นกัน เมื่อมีโอกาสได้มาเป็นผู้เรียนหลักสูตรครูโยคะทำให้ได้รู้ว่ากว่าจะออกมาเป็นคลาสที่สมบูรณ์นั้นต้องผ่านกระบวนการวางแผน การรู้จักเลือกใช้วิธีการเพื่อไปยังอาสนะหรือจุดประสงค์ที่ต้องการของคลาส และต้องคำนึงถึงผู้ฝึกไม่ต่างจากการออกแบบเลย การที่ต้องถ่ายทอดสิ่งที่แสดงความเป็นตัวเราลงไปในการสอนทำให้เห็นสไตล์ที่ชัดเจนในตัวครูแต่ละคน บางคนเน้นย้ำการฝึกในท่าพื้นฐานการให้ผู้ฝึกจัดระเบียบร่างกายได้อย่างถูกต้อง บางคนเป็นที่เลื่องลือในท่าที่อ่อนช้อยงดงาม บางคนเตรียมท่ายืดมาเพื่อแก้ปัญหาในส่วนที่ปวดตึงของผู้ฝึก ต่างก็ล้วนแล้วแต่ความถนัดและประสบการณ์เหมือนการดูผลงานของศิลปินหรือนักออกแบบ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความชอบผู้บริโภคว่าจะเลือกซื้อ เลือกเข้าฝึกงานออกแบบของใคร แต่สุดท้ายแล้วไม่ว่าผู้ฝึกจะชอบการฝึกที่ท้าทายหรืออาสนะที่ยากแค่ไหน ครูผู้ออกแบบไม่ควรลืมความเรียบง่าย การใช้กล้ามเนื้อพื้นฐาน การยืดที่ทุกคนเข้าถึงแบบ ‘less is more’ (ท่า)น้อยแต่(โดน)มาก ในรูปแบบ minimal style เพราะนอกจากเข้าถึงทุกกลุ่มผู้บริโภคแล้วยังครอบคลุมการใช้งานทุกส่วนของร่างกาย เพื่อประโยชน์ของผู้ฝึกอย่างยั่งยืน - มะปราง-...