กฎข้อแรกของการฝึกโยคะ คือการฝึกให้สนุกและมีความสุขอยู่ในทุกอาสนะ   โยคะเป็นอีกหนึ่งการออกกำลังกายที่มีความหลากหลายในรูปแบบของการเคลื่อนไหว เฉกเช่นเดียวกับการออกกำลังกายอื่น ดังนั้น ผู้ที่ฝึกโยคะก็ควรต้องถามตัวเองก่อนว่า จุดประสงค์ในการฝึกโยคะของตนเองนั้น ฝึกไปเพื่ออะไร เพื่อความแข็งแรง เพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อลดน้ำหนัก เพื่อสุขภาพ เพื่อชะลอวัย เพื่อใช้เวลาอยู่กับตัวเอง เพื่อฝึกสมาธิ หรือถูกทุกข้อที่กล่าวมาทั้งหมด...

     การออมเงิน จงอย่ารอ ความพร้อม เพราะมันไม่มีวันนั้น มันมีแต่ทำทันทีในวันนี้ " ถ้าฉันหมดหนี้ก้อนนี้ ฉันจะตั้งใจเก็บเงิน" " ถ้าลูกฉันเรียนจบ ฉันจะตั้งใจเก็บเงิน " " ถ้าฉันมีกิจการของตนเอง หรือได้เลื่อนตำแหน่ง ฉันจะตั้งใจเก็บเงิน "      ฯลฯ เหตุผลที่มีอยู่จริง เราเชื่อคุณ แต่เมื่อถึงเวลานั้น คุณก็จะมีเหตุผลอื่นมาผัดมันไปอีกเสมอ      ในด้านสุขภาพก็เช่นกัน ออมได้เลยค่ะ ไม่ต้องรอ " ถ้าฉันมีเงินมากพอ ไม่มีภาระอะไร ฉันจะแบ่งเวลาไปออกกำลังกาย " " ถ้าลูกฉันโตกว่านี้  ฉันคงจะมีเวลาไปออกกำลังกาย " " ถ้าฉันเคลียร์งานได้ดีกว่านี้ ไม่ต้องกลับดึก ฉันจะได้ออกกำลังกายสักที "      ฯลฯ เหตุผลที่มีอยู่จริง เราเชื่อคุณ แต่เมื่อถึงเวลานั้น คุณก็จะมีเหตุผลอื่นมาผัดมันไปอีกเสมอ และร่างกายก็ไม่รอคุณด้วย      และเชื่อไหมว่า ช่วงเวลาที่คุณผัดวันประกันพรุ่งอยู่นี้ ส่วนใหญ่คืออายุประมาณ 30-50 ปี...

จากวันที่ตัวเองเป็นแค่เพียงนักเรียนฝึกโยคะธรรมดาๆ คนหนึ่ง ที่ถูกหมอสั่งให้ออกกำลังกายเนื่องจากเริ่มจะมีปัญหาด้านสุขภาพ เพราะความที่เป็นคนไม่ชอบออกกำลังกายและจะมีเงื่อนไขมาอ้างโดยตลอดเพื่อที่จะไม่ต้องทำอะไร ใครจะไปคิดว่าวันนึงจะกลายมาเป็นครูสอนโยคะได้ อีกทั้งยังเคยคิดมาโดยตลอดด้วยซ้ำ ว่าโยคะไม่น่าจะเหมาะกับเอง ที่สำคัญดูแล้วน่าจะเป็นอะไรที่น่าเบื่อ เพราะโดยพื้นฐานของตัวเองแล้วเป็นคนสมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับอะไรได้นานๆ จนกระทั่งวันนึงที่ได้มีโอกาสเข้ามาฝึกกับครูสถิต กิ่งวงษา ที่ Satit Yoga ถึงได้รู้ว่าสิ่งที่เคยคิดมาโดยตลอดมันไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป ครูทำให้เราค้นพบตัวเอง ครูมองเห็นบางสิ่งที่อยู่ในตัวเราและดึงมันออกมาโดยที่เราเองก็ไม่เคยรู้ตัวมาก่อนว่าเราจะสามารถทำในสิ่งเหล่านั้นได้ ครูทำให้รู้สึกว่าโยคะไม่ใช่สิ่งที่น่าเบื่อแบบที่เราเคยคิดมา ที่สำคัญครูทำให้คนๆ หนึ่งที่สมาธิสั้นกลับสามารถทำและรักในสิ่งที่ไม่เคยคิดว่าจะเหมาะสมกับตัวเองได้ ทำไมครูถึงได้มหัศจรรย์แบบนี้คะ ที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่ใช่ความในใจแต่เป็นความดีใจและภูมิใจที่ ได้เป็นลูกศิษย์ของครู อยากจะบอกให้ครูได้รับรู้ไว้ว่าลูกศิษย์คนนี้อยากขอบคุณครูจากหัวใจ ที่ทำให้ความคิดและมุมมองในการใช้ชีวิต เปลี่ยนไปหลายอย่าง ขอยึดครูเป็นต้นแบบของตัวเองในการเป็นครูสอนโยคะในอนาคตนะคะ...

เราเริ่มฝึกโยคะจากการที่อยากออกกำลังกาย ไปสมัครฟิตเนส แต่ร่างกายไม่แข็งแรงพอ ยกเวทก็ไม่ไหว เทรนเนอร์ให้ทำอะไรก็ทำไม่ได้ วิ่งนิดเดียวก็เหนื่อย เห็นคลาสโยคะน่าสนใจเลยเข้าไปลองฝึกดู หลังจากวันนั้นก็ 4 ปีแล้ว ไม่เคยห่างจากการฝึกโยคะอีกเลย โยคะเปลี่ยนแปลงเราทั้งร่างกายที่แข็งแรงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และจิตใจที่สงบมีสมาธิมากขึ้น โดยเฉพาะเวลาที่อยู่ในคลาสฝึก อีกสิ่งที่ทำให้หลงรักโยคะคงหนีไม่พ้นอาสนะที่สวยงาม ยิ่งเวลาเห็นกูรูเก่งๆโพสท่าอาสนะสวยๆลงใน social media ก็อดที่จะเอามาก๊อปปี้ท่าถ่ายรูปลง social บ้างไม่ได้ เวลามีคนมา comment ชื่นชมก็ดีใจ แต่หลังจากได้มาเรียนครูโยคะได้รู้จักโยคะมากขึ้น จึงได้เรียนรู้ว่าการฝึกอาสนะที่ดีประกอบด้วย "สถิร สุข° อสน°" สถิร คือ เสถียร สุข° คือ เป็นสุข พูดง่ายๆว่าการฝึกอาสนะนั้นเราต้องอยู่ในท่าได้อย่างมั่นคง และสบาย    แล้วคำถามว่าถ้าอย่างนั้นเราจะฝึกโยคะท่ายากๆไปทำไม ทำไมเราทำท่ายากแล้วไม่เห็นจะมั่นคงและสบายเลย หลังจากที่คิดหาคำตอบด้วยตัวเองอยู่นาน และนี่คือคำตอบจากความรู้อันน้อยนิดของเราเอง 1. กว่าที่จะทำท่ายากได้ ผู้ฝึกโยคะหรือโยคีจะต้องผ่านการฝึกฝนท่าง่ายๆที่ทำกันอย่างสม่ำเสมออย่างเช่น ท่าไหว้พระอาทิตย์ต่างๆ ฝึกบ่อยๆฝึกมานาน จนมีร่างกายที่แข็งแรงถึงจะทำท่ายากๆได้  2. นอกจากโยคีจะมีร่างกายที่ผ่านการฝึกทั้งความแข็งแรงและความยืดหยุ่นมามากแล้ว ยังต้องมีการฝึกจิต ฝึกสมาธิ และฝึกลมหายใจมาอย่างมาก ถึงจะทำท่าอาสนะยากๆหลายท่าได้ 3....

ทุกวันนี้เราลืมตาตื่นขึ้นก็มักพบเจอกับชีวิตที่วุ่นวาย แต่ทุกครั้งที่เราพาตัวเองไปยืนอยู่บนผืนเสื่อนั้น เปรียบเสมือนการมอบรางวัลให้กับชีวิต   โยคะสำหรับเรานั้น คือ การเดินทางของร่างกายและจิตใจ  โยคะสอนให้สนใจและมองตัวเองให้มาก สอนให้พัฒนาตนเองและเฝ้ามองคนอื่นอย่างมีสติ   เส้นทางของโยคะหรือเส้นทางของชีวิต เมื่อเราเดินทางอย่างมีสติ ไม่ลุ่มหลง  จะทำให้เราเดินไปอย่างมีความสุข   โยคะของคุณคือรูปแบบไหน.. โปรดลองเปิดใจและใช้ใจมอง❣️   ขอบคุณพลังงานและมิตรภาพดีดีที่มีให้กัน #กิ๊ฟซี่ครูโยคะ...

เกริ่นนำถึง TTC จนถึงการเปิดเรียนวันแรกไปแล้ว ในตีแผ่ชีวิตนักเรียน TTC ที่ Satit Yoga ภาคหนึ่ง ครั้งนี้เราจะเล่าลึกลงไปอีกว่าเราเรียนกันอย่างไร ก่อนจะไปถึงช่วงของการสอบในโค้งสุดท้าย ครูประจำหลักสูตร และครูพิเศษ (Guest Teacher) ครูผู้สอนประจำหลักสูตรทั้งหมด 3 ท่าน ครูสถิต กิ่งวงษา (ครูสถิต)- สอนภาคปฏิบัติ การฝึกสอน และการฝึกปราณายามะ ครูชยพัทธ์ ภักดี (ครูต้าร์) - สอนภาคทฤษฎี การฝึกสอน และการฝึกปราณายามะ ครูธนินท์ธร ภักดี (ครูต่าย) - สอนภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และการฝึกสอน ภาคปฏิบัติ (Asana Practice) การฝึกอาสนะ Hatha Vinyasa กับครูสถิต โดยเรียงไปตามลำดับจากท่าพื้นฐานไปจนถึงท่าอาสนะขั้นสูง Surya Namaskar A, B, Classical, Master Sequence และ Advanced Sequence ที่ออกแบบโดย...

จากการฝึกโยคะในสตูดิโอมาหลายปี ทำให้เราเริ่มเกิดคำถามขึ้นมาว่าจริง ๆ แล้วโยคะคืออะไร เราโอมก่อนเริ่มคลาสไปทำไม ฝึกมานานแล้วแต่ทำไมยังฝึกเองที่บ้านไม่ได้สักที ทำไมไม่มีสมาธิ ไม่สามารถฝึกได้ลื่นไหลเหมือนในคลาสที่มีครูคอยนำ ไม่อยากปรับท่าโยคะให้ใคร เพราะรู้สึกว่าไม่ได้รู้จริง กลัวสอนแล้วคนจำไปแบบผิด ๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้เราเริ่มศึกษา และพบว่า TTC น่าจะตอบคำถามของเราได้ TTC คืออะไร TTC (Yoga Teacher Training Course) คือหลักสูตรอบรมครูโยคะ โดยทั่วไปแล้วจะมีอยู่ 2 รูปแบบคือ 200 ชั่วโมง และ 500 ชั่วโมง ซึ่งรายละเอียดเนื้อหาของหลักสูตรจะได้รับการออกแบบโดยสถาบันที่สอน หลักสูตรที่จะมาเล่าให้ฟัง คือ หลักสูตรอบรมครูโยคะสากล 200 ชั่วโมง (RYT 200 Hatha Vinyasa Teacher Certification Course) ของ Satit Yoga ที่ได้รับการรองรับหลักสูตรโดย Yoga Alliance (YA) องค์กรโยคะ...

“จักระ” ขุมพลังแห่งชีวิต Story By : Panida Padungvichean Illustrated By : Duairak Padungvichean   ระบบต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ เป็นเรื่องซับซ้อน หากเราไม่ได้เป็นบุคลากรทางแพทย์ หรือร่ำเรียนมาทางวิทยาศาสตร์ คงเป็นเรื่องยากที่จะได้ทำความรู้จักกับร่างกายของตัวเอง...

มิตรภาพ จริงใจ ง่ายๆ ชัดเจน คือสิ่งที่ได้รับจากสตูครูสถิต สิ่งที่ครูให้ เรารับได้ โดย ไม่ต้องคิดเยอะ… …ไม่ต้องคิดเยอะ คือ คำที่ติดปากครูสถิตเสมอ ตัวตนของครูชัดเจน สามารถเห็นได้ในครั้งแรกที่เจอ ไม่สร้างภาพ ไม่สนใจว่าเราอยากฟังอะไร ครูให้แต่ความจริง อาจจะไม่รื่นหูแต่เข้าใจ ปฏิบัติง่าย ครู ให้ความรู้กับลูกศิษย์ด้วยใจและประสบการณ์ที่มากมายของครู …ความเป็นธรรมชาติ คือ นิยามในการสอนของครู ใช้ธรรมชาติของร่างกายนำพา เข้าสู่อาสนะต่างๆ และความเป็นธรรมชาติของตัวครูด้วยเช่นกัน ที่ทำให้เราเกิดความประทับใจตั้งแต่วันแรกที่เจอ จนถึงวันนี้ ….อาจเพราะเราชื่นชมครูมากๆ ลูกชายก็เลยพลอยได้รับแรงบันดาลใจจากครูสถิตด้วย และตามมาฝึกคลาสแอดวานซ์กับครูในครั้งหน้า Chotirose Jullapo ...

“Yuj”; The Meaning of Yoga by Tuangpat Visuddhidham   ด้วยความสงสัยว่า ความหมายของโยคะคืออะไร และคำว่า “Yuj”มีที่มาอย่างไร ซึ่งหนังสือหรือบทความในเมืองไทย มักจะอธิบายความหมายของโยคะว่า  โยคะ มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตว่า “ยุช” (Yuj) ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า  การยึด, ผูก, การเชื่อมโยง การวมกัน จึงหมายรวมได้ว่า โยคะเป็นการรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน (Integration) ทั้งร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาน เพื่อสร้างสมดุลให้เกิดขึ้น ทั้งของตนเองและสภาพภายนอก รวมถึงการพัฒนาจิตให้เข้มแข็งมั่นคงยิ่งขึ้น  จากการค้นคว้าบทความในต่างประเทศเพิ่มเติม กล่าวถึงคำว่า “Yuj” ว่า  The Sanskrit word for yoke is yuj, a physical device used to join cattle. They are big,...