เจ็บหัวไหล่เรื้อรัง โปรดระวัง “Impingement Syndrom”

อาการเจ็บหัวไหล่เป็นสิ่งที่จำกัดการเคลื่อนไหว จำกัดกิจกรรม และเป็นสิ่งที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้เราไม่สามารถยกของได้ ในบางครั้งแค่เพียงจะใส่เสื้อเท่านั้นยังเป็นเรื่องที่ลำบาก

           Impingement syndrom เป็นชื่อเรียกของอาการเจ็บหัวไหล่ประเภทหนึ่ง เป็นอาการเจ็บที่เกิดจากการยกแขนเหนือศีรษะ ทำให้เกิดการเสียดสีของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กับกระดูก (กระดูกท่อนแขน กระดูกสะบัก และกระดูกไหปลาร้า) ส่วนมากจะเกิดกับผู้ที่ต้องมีกิจกรรมยกแขนขึ้นเสมอหัวไหล่หรือต้องยกแขนขึ้นเหนือศีรษะเป็นประจำ เช่น นักกีฬาว่ายน้ำ นักเทนนิส นักยกน้ำหนัก นักวาดภาพ พนักงานจัดหนังสื่อ รวมไปถึงผู้ที่มีลักษณะ ผู้ที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ไหล่ห่อ หลังค่อม เป็นต้น

อาการบาดเจ็บมีความแต่ต่างกันไปตามอายุ ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 3 ช่วงอายุ

ในช่วงอายุประมาณ 25 ปี ที่ร่างกายแข็งแรงและยังเป็นวัยรุ่นตอนปลาย อาการแสดงจะมีลักษณะบวม และการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น

ในช่วงอายุตั้งแต่ 25-40 ปี แนวโน้มของอาการเส้นเอ็นที่หัวไหล่จะลดลง(อ่อนแอลง) ทำให้เส้นเอ็นที่ยึดกระดูกกับกล้ามเนื้อทำงานได้ไม่สมบูรณ์

ในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป กล้ามเนื้อที่อยู่โดยรอบหัวไหล่เกิดการฉีกขาด (Rotator cuff และเกิดความเสียหายที่กล้ามเนื้อ Biceps) ส่งผลให้กระดูกหัวไหล่เปลี่ยนแปลงไป

จากการเปลี่ยนแปลงตามช่วงอายุที่ได้กล่าวมาข้างต้น เนื้อเยื่อของหัวไหล่ถูกเสียดสีจนทำให้สูญเสียเนื้อเยื่อที่สำคัญบางส่วนไป ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของหัวไหล่เช่น เราสามารถเคลื่อนไหวแขนท่อนบน(Humerus bone)ได้มากจนเกินไป (อาจทำให้หัวไหล่หลุดได้ง่าย) และการที่เนื้อเยื่อหัวไหล่ถูกเสียดสีเป็นเวลานาน มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อใกล้เคียงให้ได้รับความเจ็บปวดไปด้วย เช่น อาการเจ็บแขนท้อนบน หรืออาการเจ็บบริเวณด้านข้างแขน อาการโดยส่วนมากจะเกิดขึ้นตอนกลางคืน หรือเมื่อเวลาที่นอนทับแขนข้างที่มีอาการ

ลักษณะของหัวไหล่ที่เกิดการเสียดสี         

หัวไหล่ที่สมบูรณ์

หัวไหล่ที่มีเสียดสีและมีอาการเจ็บ

วืธีการสังเกตุ

ลักษณะของอาการบาดเจ็บจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป อาการเจ็บจะอยู่ไม่ถาวรเพียงพักการใช้กล้ามเนื้อหัวไหล่อาการเจ็บจะบรรเทาลง

ปวดเจ็บน้อยเมื่อใช้แขน

ปวดมากขึ้นเมื่อเริ่มยกเขน อาการเจ็บจะเพิ่มขึ้นมากเมื่อมีการฉีกขาดของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น         

วิธีการป้องกันและช่วยบรรเทาอาการบาดเจ็บจาก Impingement syndrom

เพิ่มระยะการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อด้วยการยืดกล้ามเนื้อบริเวณรอบหัวไหล่

เพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อรอบหัวไหล่และสะบัก ทั้งแบบเคลื่อนไหวและแบบคงทน

ใช้เทปแปะ เพื่อให้กล้ามเนื้อจำตำแหน่งหัวไหล่ที่ถูกต้อง

ฝึกการเตรียมใช้กล้ามเนื้อในมุมที่ถูกต้อง ก่อนที่จะเคลื่อนไหว

           การเจ็บหัวไหล่เรื้อรังเป็นสิ่งที่จำกัดการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก และหากต้องรักษาอาการเจ็บด้วยการผ่าตัดกล้ามเนื้อบรืเวณหัวไหล่ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น ทั้งค่าใช้จ่ายที่แสนแพง รวมถึงการต้องพักเป็นเวลานานอาจไม่จำเป็นหากเราฟังเสียงร่างกายตัวเองและดูแลกล้ามเนื้อให้พร้อมก่อนการเคลื่อนไหวทุกครั้ง

ผู้เขียน

YUPAWAN RANGABPRAI

Instargam : yupawan_r

Facebook : SUYUPILATES

REFERENCES

www.uptodate.com/contents/shoulder-impingement-syndrome-beyond-the-basics

Muscles teasting and function with posture and pain book