แกนกลางชั้นลึกที่ถูกละเลย

แกนกลางหรือลำตัวของร่างกายของมนุษย์เปรียบเหมือนบ้านหลังใหญ่ คือ ส่วนหน้าท้องเป็นส่วนหน้า กล้ามเนื้อหลังและสะโพกเป็นส่วนหลัง กระบังลมเป็นส่วนหลังคา และกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเป็นส่วนฐาน ซึ่งกล้ามเนื้อแกนกลางเหล่านี้ทำหน้าที่สร้างความมั่นคงให้ลำตัวของร่างกายและกระดูกสันหลัง ทั่งในขณะที่มีและไม่มีการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวถือเป็นศูนย์กลางของร่างกายและมีผลต่อการเคลื่อนไหวรยางค์แขนและขา การมีกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวที่แข็งแรงจะทำให้การเคลื่อนไหวและการออกแรงของรยางค์แขนและขาทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มาทำความรู้จักและประโยชน์ของกล้ามเนื้อแต่ละมัดกัน

กล้ามเนื้อแกนกลางชั้นลึกมีอยู่ 4 มัดกล้ามเนื้อ ประกอบไปด้วย

                1. กล้ามเนื้อกระบังลม (Diaphragm) กล้ามเนื้อชิ้นนี้อยู่ในทรวงอกทางด้านล่าง ด้านในกระดูกซี่โครง มีลักษณะเป็นแผ่นบางกั้นระหว่างทรวงอกและช่องท้องออกจากกัน

ทำหน้าที่เป็นหนึ่งในกระบวกการหายใจของเราทั้งเวลาที่หายใจเข้า และหายใจออก

เมื่อหายใจเข้ากระบังลมจะทำงานขยายตัวลงไปทางช่องท้อง ทำให้เกิดพื้นที่ในทรวงอกและการเคลื่อนที่ของอากาศเข้าไปในปอด

เมื่อหายใจออกกระบังลมจะผ่อนคลายตัวกลับสู่ตำแหน่ง ช่วยดันออกกาศออกจากปอด

2. กล้ามเนื้อแกนกลางช่องท้อง (Transversus Abdominis) ตำแหน่งของกล้ามเนื้อชิ้นนี้อยู่บริเวณกึ่งกลางลำตัวและพันรอบลำตัวไว้

ทางด้านหน้าเป็นแผ่นใหญ่จากส่วนล่างของกระดูกซี่โครงยาวลงไปจนถึงกระดูก Pubic ทางด้านข้างและยาวไปจนถึงด้านหลังลำตัว เหมือนเข็มขัดขนาดใหญ่

ทำหน้าที่ดึงกระดูกซี่โครงเข้าหากันช่วยสร้างความมั่นคงให้กับลำตัวส่วนกลาง (thoracic) และกระดูกเชิงกราน (pelvic)

ทำหน้าที่ป้องกันอวัยวะภายในช่องท้อง และในหญิงตั้งครรภ์กล้ามเนื้อ Transversus abdominis ทำหน้าที่ช่วยในการคลอดบุตร

medical accurate illustration of the transversus abdominis

3. กล้ามเนื้อยึดกระดูกสันหลัง (Multifidus) ตำแหน่งของกล้ามเนื้อชิ้นนี้อยู่บริเวณกระดูกสันหลัง (Spinous process) จากกระดูกกระเบนเหน็บ (Sacrum) ยาวตามแนวกระดูกสันหลังขึ้นไปจนสุด ความหนาแน่นของมวลกล้ามเนื้อทำหน้าที่ควบคุมกระดูกสันหลังให้มั่นคง ความแข็งแรงและมั่นคงของกระดูกสันหลังแต่ละชิ้นช่วยลดความเสื่อมของโครงสร้างและลดแรงกระแทกขณะเคลื่อนไหว และกล้ามเนื้อชิ้นนี้เป็นช่วยป้อนข้อมูลสู่ระบบประสาทการรับรู้ของร่างกาย (Proprioceptive)

4. กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Pelvic floor) ตำแหน่งของกล้ามเนื้อชิ้นนี้อยู่บริเวณช่องด้านล่างของกระดูกเชิงกราน ทำหน้าที่ช่วยพยุงอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน เช่นกระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ และมดลูก ให้ปลอดภัยและให้อยู่ในตำแหน่ง ช่วยการทำงานของหูรูดของปัสสาวะและทวารหนัก ช่วยในการคลอดบุตร และช่วยปรับความดันในช่องท้องให้เหมาะสม

เมื่อกล้ามเนื้อมัดลึกทั้ง 4 มัดรวมกันทำงานร่วมกันจะหน้าที่

ช่วยความคุมแกนกลางร่างกายให้มั่นคง สมดุลระหว่างที่เคลื่อนไหวร่างกายหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ช่วยควบคุมการขับของเสียออกจากร่างกาย เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น

ช่วยป้องกันอวัยวะภายในช่องท้อง อุ้งเชิงกราน และเส้นประสาทกับไขสันหลัง ลดแรกกระแทกจากอุบัติเหตุ หรือการใช้ชีวิตประจำวัน

ช่วยความคุมแรงดันในทรวงอกและช่องท้องในระบบหายใจ

ช่วยในการคลอดบุตร

ช่วยให้สามารถยก ดึง ผลัก สิ่งของที่มีน้ำหนักหนักได้ เปรียบสะเหมือน ผู้มีกำลังภายใน (Power of house)

ผู้เขียน Yupawan Rangabprai
IG : Yupawan_r
Cr : Anatomy function book
Pilates principle
Webside Wikipedia